การค้ามนุษย์
การ ค้ามนุษย์เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญในระดับสากล เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และวิถีชีวิตของผู้คนและสังคมในหลายระดับ เกิดขึ้นและมีความเกี่ยวพันกับหลายประเทศทั่วภูมิภาคของโลก มีผู้คนนับแสนนับล้านคนโดยเฉพาะเด็กและสตรี ต้องถูกแสวงหาประโยชน์และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย สูญเสียและได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและจิตใจ โอกาสและอนาคต ความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงเกิดความสูญเสียและเสียหายต่อบุคคลรอบข้าง ชุมชน และสังคม ซึ่งอาจไม่สามารถประเมินมูลค่าได้เป็นตัวเงิน โดยการค้ามนุษย์นั้นโดยมากปรากฎให้เห็นในรูปแบบที่ผ่านนายหน้าหรือเอเย่นต์ และผ่านการบริการทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการค้าประเวณีและเพื่อการค้าแรงงาน
ปัจจุบันพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกื้อหนุนให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยประเทศไทย เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง ปัจจัยนี้ส่งผลให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียมีความซับซ้อน มีประชาชนของแทบทุกประเทศล้วนตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ LPN พบว่า แนวโน้มจำนวนของแรงงานข้ามชาติที่ถูกหลอกนั้น มากขึ้นทุกที
สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์มีความซับซ้อน หลากหลายมิติ อาทิ การบังคับใช้แรงงานทาสในสถานประกอบการ บนเรือประมง การแสวงหาประโยชน์ บังคับขอทาน กักขังหน่วงเหนี่ยว ทำร้ายทุบตี ข่มขืน บังคับให้ขายบริการทางเพศ หลายกรณีมักพบเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องและแสวงหาประโยชน์ เปิดบริสุทธิ์เด็ก รับสินบน มีส่วนร่วมในการปลอมแปลงเอกสาร ปกปิดพยานหลักฐานและมีลักษณะการกระทำที่เป็นการสนับสนุนกระบวนการค้ามนุษย์จนยากต่อการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาการค้ามนุษย์มีขอบข่ายกว้างขวางและเป็นปัญหาที่รุนแรง ดังนั้นการพัฒนางานในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการคัดแยกผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ การสัมภาษณ์ผู้เสียหายที่ต้องใช้นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เข้าร่วม เพื่อสืบหาที่มาของปัญหา และดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมาย ก่อนที่จะผลักดันกลุ่มคนเหล่านี้กลับประเทศ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ ในการดูแล คุ้มครอง และฟื้นฟู ผู้เสียหายอย่างเป็นระบบ
การค้ามนุษย์คืออะไร
ใน พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ระบุความหมายของ “การค้ามนุษย์” ไว้ว่า
ใน พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ระบุความหมายของ “การค้ามนุษย์” ไว้ว่า
“การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบ อื่นใด ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจ ควบคุมบุคคลอื่น เพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงประโยชน์ การแสวงประโยชน์ อย่างน้อยที่สุด ให้รวมถึงการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่น หรือการแสวงประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือการกระทำอื่นเสมือนการเอาคนลงเป็นทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย ให้ถือว่าการจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อความมุ่งประสงค์ในการ แสวงประโยชน์ เป็นการค้ามนุษย์ แม้ว่าจะไม่มีการใช้วิธีการใด ๆ ที่ระบุไว้”
ในพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า “การค้ามนุษย์” โดยตรง แต่ในมาตรา 5 ระบุ ดังนี้
“ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าหญิงหรือเด็ก ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด รับ หน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง ซึ่งหญิงหรือเด็ก หรือจัดให้หญิง หรือเด็กกระทำการหรือยอมรับการกระทำใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าหญิงหรือเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน หรือพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้”
ในร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2540” เพื่อให้สอดคล้องกับ พิธีสารเพื่อต่อต้านการลักลอบขนย้ายผู้ย้ายถิ่นทางบก ทะเล และอากาศ อันเป็นพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า
“ผู้ใดกระทำต่อบุคคลอื่นดังต่อไปนี้ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ + จัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้ อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด + ด้วยวิธีการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือโดยอาศัยความอ่อนด้อยประสบการณ์หรือความรู้ของบุคคล หรือโดยการ ให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น เพื่อให้รับความยินยอมของผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น และ + โดยเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ในกรณีที่เป็นการกระทำต่อเด็ก ให้ถือว่าเป็นการค้ามนุษย์ และแม้เด็กนั้นจะยินยอมก็ตาม
การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้า ประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศใน รูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการเอาคนลงเป็นทาส ตัดอวัยวะออกจาก ร่างกาย ให้เด็กกระทำการที่ผิดกฎหมายอาญา หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน หรือที่รุนแรงกว่านั้น”
สรุปการค้ามนุษย์คือ การกระทำและความพยายามใด ๆ ในการหา ขนส่ง ลำเลียง ซื้อ ขาย ส่งต่อ รับ กักขัง หน่วงเหนี่ยวคนเพื่อให้คนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย ยอมทำในสิ่งไม่อยากทำหรือตกอยู่ในสภาพที่ลำบากโดยถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกแสวงหาประโยชน์
ประเภทการค้ามนุษย์
อันดับหนึ่งของธุรกิจ "ค้ามนุษย์" ร้อยละ 79 เป็นการใช้ประโยชน์ทางเพศ ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กหญิง ซึ่งรูปแบบที่พบเห็นเป็นประจำ เช่น
-การบริการทางเพศ(การค้าบริการทางเพศ)
-การใช้แรงงานเยี่ยงทาส(การค้าทาส)
-การรับจ้างแต่งงาน
-การขอทาน
-การตัดอวัยวะออกจากร่างกาย
-การบริการทางเพศ(การค้าบริการทางเพศ)
-การใช้แรงงานเยี่ยงทาส(การค้าทาส)
-การรับจ้างแต่งงาน
-การขอทาน
-การตัดอวัยวะออกจากร่างกาย
สาเหตุของปัญหาการค้ามนุษย์
ปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ โดยมีสาเหตุจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดภาวะโลกไร้พรมแดน ความเจริญก้าวหน้าของเส้นทางคมนาคมและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เกิดเครือข่ายธุรกิจผิดกฎหมาย และกระบวนการค้ามนุษย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
สาเหตุของการเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ มี 3 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยที่ผลักดัน ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เมื่อ 10-20 ปี ที่ผ่านมา ความยากจนอาจเป็นสาเหตุที่ผลักดันให้หญิงและเด็กตกอยู่ในสภาพถูกค้า แต่ภายหลังพบว่า ความยากจนโดยตัวของมันเองไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้เกิดการค้าหญิง แต่มักจะเป็นความยากจนรวมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การขาดโอกาสได้รับการศึกษา การเข้าไม่ถึงบริการของรัฐการขาดทักษะอาชีพหรือความไม่รู้ โดยเฉพาะความไม่รู้เท่าทันถึงวิธีการหลอกลวง ตั้งแต่หลวกลวงเรื่องค่าจ้างลักษณะงาน ความไม่รู้เรื่อง หนี้สิน อันเกิดจากนายจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไปจนถึงวิธีการปลอมแปลงเอกสารสำคัญต่าง ๆ
นอกจากนี้สภาพความเลวร้ายในครอบครัวก็มีส่วนผลักดันให้หญิงและเด็กต้องแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า โดยไม่ทันคำนึงถึงอันตรายต่าง ๆ
2. ปัจจัยที่ดึงดูด คือความต้องการเงินเพื่อยังชีพ ส่งให้บิดามารดาหรือซื้อของที่ต้องการอันเนื่องมาจากค่านิยมเชื่อมโยงกับบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติและค่านิยม ได้แก่ การมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการมองว่าผู้หญิงและเด็กมีความด้อยด้านเพศและอายุ ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกหลอกลวงและถูกบังคับได้ง่าย
เด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. เด็กและหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
2. เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไทย ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
3. เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไทยถูกต้องตามกฎหมายแต่ภายหลังตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
4. เด็กและหญิงที่มิได้มีสัญชาติไทย แต่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
ปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ โดยมีสาเหตุจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดภาวะโลกไร้พรมแดน ความเจริญก้าวหน้าของเส้นทางคมนาคมและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เกิดเครือข่ายธุรกิจผิดกฎหมาย และกระบวนการค้ามนุษย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
สาเหตุของการเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ มี 3 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยที่ผลักดัน ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เมื่อ 10-20 ปี ที่ผ่านมา ความยากจนอาจเป็นสาเหตุที่ผลักดันให้หญิงและเด็กตกอยู่ในสภาพถูกค้า แต่ภายหลังพบว่า ความยากจนโดยตัวของมันเองไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้เกิดการค้าหญิง แต่มักจะเป็นความยากจนรวมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การขาดโอกาสได้รับการศึกษา การเข้าไม่ถึงบริการของรัฐการขาดทักษะอาชีพหรือความไม่รู้ โดยเฉพาะความไม่รู้เท่าทันถึงวิธีการหลอกลวง ตั้งแต่หลวกลวงเรื่องค่าจ้างลักษณะงาน ความไม่รู้เรื่อง หนี้สิน อันเกิดจากนายจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไปจนถึงวิธีการปลอมแปลงเอกสารสำคัญต่าง ๆ
นอกจากนี้สภาพความเลวร้ายในครอบครัวก็มีส่วนผลักดันให้หญิงและเด็กต้องแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า โดยไม่ทันคำนึงถึงอันตรายต่าง ๆ
2. ปัจจัยที่ดึงดูด คือความต้องการเงินเพื่อยังชีพ ส่งให้บิดามารดาหรือซื้อของที่ต้องการอันเนื่องมาจากค่านิยมเชื่อมโยงกับบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติและค่านิยม ได้แก่ การมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการมองว่าผู้หญิงและเด็กมีความด้อยด้านเพศและอายุ ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกหลอกลวงและถูกบังคับได้ง่าย
เด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. เด็กและหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
2. เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไทย ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
3. เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไทยถูกต้องตามกฎหมายแต่ภายหลังตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
4. เด็กและหญิงที่มิได้มีสัญชาติไทย แต่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย
ในปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเด็กและหญิง เป็นปัญหาระดับโลกและได้แพร่ขยายมากขึ้น ซึ่งในระยะแรก ๆ มุ่งไปที่การเอารัดเอาเปรียบทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีต่อเด็ก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจบริการทางเพศ ต่อมาปัญหาได้ขยายตัวเป็นการใช้แรงงานรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การบังคับขู่เข็ญ การทำร้ายร่างกาย จิตใจ การทำให้เสียอิสระภาพและศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ลักษณะเหล่านี้ถือเป็นการ "ค้าทาส" ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์และตกอยู่ในสถานะ 3 สถานะ คือ
-เป็นประเทศต้นทาง มีการนำคนจากพื้นที่ชนบทชุมชนชาวไทยภูเขา หรืออื่น ๆ ส่งไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-เป็นประเทศทางผ่าน ขบวนการค้ามนุษย์ใช้เป็นทางผ่านพาคนจากประเทศพม่า ลาว จีน เขมรฯลฯ ไปยังประเทศอื่น ๆ
-เป็นประเทศปลายทาง มีการนำคนจากที่อื่นเข้ามาพักและแสวงหาประโยชน์
ในปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเด็กและหญิง เป็นปัญหาระดับโลกและได้แพร่ขยายมากขึ้น ซึ่งในระยะแรก ๆ มุ่งไปที่การเอารัดเอาเปรียบทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีต่อเด็ก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจบริการทางเพศ ต่อมาปัญหาได้ขยายตัวเป็นการใช้แรงงานรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การบังคับขู่เข็ญ การทำร้ายร่างกาย จิตใจ การทำให้เสียอิสระภาพและศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ลักษณะเหล่านี้ถือเป็นการ "ค้าทาส" ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์และตกอยู่ในสถานะ 3 สถานะ คือ
-เป็นประเทศต้นทาง มีการนำคนจากพื้นที่ชนบทชุมชนชาวไทยภูเขา หรืออื่น ๆ ส่งไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-เป็นประเทศทางผ่าน ขบวนการค้ามนุษย์ใช้เป็นทางผ่านพาคนจากประเทศพม่า ลาว จีน เขมรฯลฯ ไปยังประเทศอื่น ๆ
-เป็นประเทศปลายทาง มีการนำคนจากที่อื่นเข้ามาพักและแสวงหาประโยชน์
ซึ่งในปี2547 มีนโยบายรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 ให้การค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ และมอบนโยบายด้านการค้ามนุษย์ 6 ข้อ คือ
-การเสริมสร้างศักยภาพ
-การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
-การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายด้านการค้ามนุษย์
-การรณรงค์เพื่อให้สังคมเห็นปัญหาอย่างแท้จริง
-การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
-การปรับระบบความคิด ทัศนคติของคนในสังคม
-การเสริมสร้างศักยภาพ
-การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
-การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายด้านการค้ามนุษย์
-การรณรงค์เพื่อให้สังคมเห็นปัญหาอย่างแท้จริง
-การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
-การปรับระบบความคิด ทัศนคติของคนในสังคม
และประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มาตั้งแต่ปี 2551 แต่ประเทศไทยถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในสถานการณ์การค้ามนุษย์จาก Tier II เป็น Tier II Watch List หรือบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ในรายงานระบุว่า แม้กระบวนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะพัฒนาขึ้นอย่างมีลำดับ แต่กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยยังคงล้มเหลว มีการดำเนินการอย่างมีข้อจำกัด เกิดจากสาเหตุหลายประการ ทั้งความรู้ความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย การเพิกเฉยต่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับกระบวนการค้ามนุษย์ได้อย่างจริงจัง ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2549 ที่ผ่านมา ก็มีคดีฐานความผิดค้ามนุษย์หลายกรณีที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐ อาทิ คดีสุไหโกลก คดีรัญญาแพ้ว คดีประภาสนาวี คดีอโนมา คดีแสมสาร คดีกันตัง คดีลพบุรี และคดีย่อยๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งคดีเหล่านี้บางคดียังไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
ชมคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
การแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก หมายถึง การบังคับ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใด ให้เด็กกระทำการใด หรือไม่กระทำการใด อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก
มีการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ อันป็นการกระทำผิดกฏหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฏหมายอาญา เช่น
• เป็นธุระจัดหาเด็ก เพื่อการค้าประเวณี
• ประสงค์แห่งการค้า ทำ ผลิต เผยแพร่ จำหน่าย นำเข้า สื่อลามกอนาจารเด็ก
• การรับเด็ก ทำงานในสถานประกอบการต้องห้ามตามกฏหมาย เช่น โรงงานอุตสาหกรรมหนัก สถานบันเทิงกลางคืน เป็นต้น
การค้ามนุษย์เพื่อบริการทางเพศ คือ
การท่องเที่ยวเพื่อบริการทางเพศกับเด็กคืออะไร
การค้ามนุษย์เพื่อบริการทางเพศ คือ
“การค้ามนุษย์เพื่อบริการทางเพศ” หมายถึง การจัดหา การให้ที่พักพิง การขนส่ง หรือการนำตัวบุคคล มาเพื่อจุดประสงค์ของการมีเพศสัมพันธ์เชิงพาณิชย์
“การมีเพศสัมพันธ์ในเชิงพาณิชย์” หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ซึ่งทำให้มีผู้ใดก็ตามให้หรือรับสิ่งใดที่มีมูลค่าจากการกระทำดังกล่าว
แต่ ละปีจะมีเด็กกว่า 1 ล้านคนที่ถูกแสวงประโยชน์ในการค้าบริการทางเพศในโลก การท่องเที่ยวเพื่อการบริการทางเพศกับเด็ก (Child Sex Tourism - CST) หมายความถึงการที่คนเดินทางจากประเทศของตนเองไปยังอีกประเทศหนึ่งและมีเพศ สัมพันธ์เชิงพาณิชย์กับเด็ก ๆ CST เป็นการทำร้ายศักดิ์ศรีของเด็กอย่างน่าละอาย และเป็นการกระทำทารุณเด็กอย่างรุนแรงรูปแบบหนึ่ง การแสวงประโยชน์ทางเพศกับเด็ก ๆ จะมีผลกระทบที่ตามมาซึ่งเป็นความเสียหายอย่างมาก นักท่องเที่ยวซึ่งเกี่ยวข้องกับ CST ส่วนใหญ่จะเดินทางไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อจะได้ไม่มีใครรู้จักและเป็น ประเทศที่มีโสเภณีเด็กอยู่แล้ว สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาชญากรรมมักจะได้แก่การบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอ การคอร์รัปชั่น อินเตอร์เน็ต การเดินทางที่สะดวกขึ้น และความยากจน ผู้ที่กระทำผิดทางเพศเช่นนี้จะมาจากภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจและสังคมทุกรูป แบบ และอาจจะอยู่ในตำแหน่งซึ่งผู้คนไว้วางใจ
กลุ่มเป้าหมาย
เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการถูกนำมาแสวงหาผลประโยชน์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของเด็กเร่ร่อนที่อาศัยพื้นที่สาธารณะหลับนอน โดยกลุ่มมิจฉาชีพจะเข้าไปตีสนิทและชักชวนเด็กๆ โดยการเสนอผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น เงิน เกมส์ ของเล่น หรืออาหารให้ เพื่อเป็นการจูงใจให้เด็กเชื่อใจ แล้วจึงชักชวนเด็กไปทำงาน
นอกจากนี้ยังพบว่า มีเด็กในครอบครัวที่ตกเป็นเหยื่อเช่นเดียวกัน คือ เด็กที่อยู่ในร้านเกมส์ หรือโต๊ะสนุ๊กเกอร์ โดยพวกมิจฉาชีพจะรู้ว่าเด็กต้องการเงินไปเล่นเกมส์ ก็มักจะเข้ามาตีสนิทและเสนอเงินให้เด็ก จากนั้นจึงชักชวนเด็กไปทำงาน โดยเด็กกลุ่มเสี่ยงมีอายุตั้งแต่ 10 – 18 ปี ทั้งชายและหญิง ตลอดจนเด็กที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ
พื้นที่เสี่ยงในการล่อลวงเด็กไปแสวงหาผลประโยชน์ ได้แก่
• สนามหลวง
• บริเวณสะพานพุทธ
• วงเวียนใหญ่
• สถานีรถไฟหัวลำโพง
• สวนลุมพินี
• ย่านสีลมเป็นต้น
• บริเวณสะพานพุทธ
• วงเวียนใหญ่
• สถานีรถไฟหัวลำโพง
• สวนลุมพินี
• ย่านสีลมเป็นต้น
ทำไมผู้หญิงจึงตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
-สังคมเชื่อว่า ผู้ชายมีแรงขับธรรมชาติทางเพศมาก จำเป็นต้องได้รับการตอบสนอง ทางเพศอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การใช้บริการทางเพศจากหญิงขายบริการเป็นเรื่องปกติและต้องการเพิ่มมากขึ้น
-ผู้หญิงถูกกำหนดให้เชื่อว่าตนเองไม่มีสิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย มีหน้าที่ตอบสนอง เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินตรา จึงตกเป็นเหยื่อได้ง่าย
-ธุรกิจลามกอนาจาร การค้าบริการทางเพศ สื่อสิ่งพิมพ์แพร่หลายอยู่ทั่วไปและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
-สังคมเชื่อว่า ผู้ชายมีแรงขับธรรมชาติทางเพศมาก จำเป็นต้องได้รับการตอบสนอง ทางเพศอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การใช้บริการทางเพศจากหญิงขายบริการเป็นเรื่องปกติและต้องการเพิ่มมากขึ้น
-ผู้หญิงถูกกำหนดให้เชื่อว่าตนเองไม่มีสิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย มีหน้าที่ตอบสนอง เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินตรา จึงตกเป็นเหยื่อได้ง่าย
-ธุรกิจลามกอนาจาร การค้าบริการทางเพศ สื่อสิ่งพิมพ์แพร่หลายอยู่ทั่วไปและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
-ค่านิยมด้านวัตถุนิยมแพร่หลาย ความต้องการเงินเพิ่มขึ้น ผู้หญิงบางกลุ่มยอมทำทุกวิธีทางเพื่อให้ได้เงินมาสนองค่านิยมวัตถุนิยม
-ด้วยปัญหาทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจ ผู้หญิงบางกลุ่มเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบครอบครัว บางคนเมื่อถึงทางตัน มีวิธีไหนที่จะได้เงินมาเลี้ยงดูครอบครัวก็ยอมทำทุกอย่างแม้จะเป็นการขายตัวขายศักดิ์ศรีก็ตามเป็นต้น
ทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
-ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็ง และส่งเสริมบทบาทครอบครัว โรงเรียนชุมชน และประชาชนทั่วไปในการป้องกันและเฝ้าระวัง
-สร้างความตระหนักในบทบาทหญิงชาย ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน จนถึงระดับประเทศเพื่อขจัดปัญหาการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
-เสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้หญิงและเด็กในทุกๆด้าน
-สร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย และพัฒนาอาชีพให้ตรงตามความต้องการของตลาด
-รณรงค์ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียง ลดค่านิยมในการบริโภควัตถุนิยม
-รณรงค์ให้สังคมเลิกสนับสนุนบริษัท สื่อ หรือองค์กรที่มีการกระทำใดที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
หลักปฏิบัติที่ต้องจดจำในการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์
คนที่ตกเป็นเหยื่อ ล้วนตกอยู่ในเหตุการณ์ที่ทุกข์ทรมาน อยู่ในสภาพเสียเปรียบ ขาดที่พึ่ง ไม่มีใคร
ที่ช่วยเหลือเขาได้ หรือถูกหยามเหยียด จึงควรดำเนินการดังนี้
-สนับสนุนช่วยเหลือเขาเหล่านั้นให้ตัดสินใจที่จะจัดการกับชีวิตของตนด้วยตนเอง
-เคารพและยอมรับในความคิดเห็นของเขา
-ช่วยสร้างความมั่นใจและนับถือตนเองให้กับเขา
-เก็บรักษาความลับโดยไม่นำไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง
-อย่าให้คำสัญญาใด ๆ ในสิ่งที่กระทำไม่ได้
รูปแบบใหม่การค้าบริการ
แฉ นวดแผนไทยพร้อมขายเซ็กซ์กำลังเป็นที่นิยมในยุโรป ทั้งฝรั่งเศส เดนมาร์ก เยอรมัน หวั่นทำภาพพจน์นวดไทยเสื่อมเสียทั่วโลก เผยหญิงไทยระดับเรียนจบปริญญาราชภัฏแห่ไปทำกันเพียบ รวมถึงเด็กปวส.-ปวช. เพราะรายได้ดีมาก จนต้องกลับมาเรียนนวดวัดโพธิ์เพื่อให้ได้ใบรับรองกลับไปทำงาน เผยขณะทำงานสาวไทยจะใส่เสื้อคลุมตัวเดียว โดยบริการรู้กันว่ามีแบบนวดธรรมดา แบบนวดน้ำมันและแบบร่วมเพศ ระบุแม้แต่สาวใต้ทั้งปัตตานี นครฯ สุราษฎร์ฯ ก็นิยมไปขายบริการแบบนี้
จากข้อมูลที่ได้รับในการเข้าไปแก้ปัญหาการค้ามนุษย์พบว่า มีขบวนการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบแบบมืออาชีพในการปลอมแปลงเอกสารและหนังสือ เดินทาง ส่วนนายหน้ามีทั้งเพื่อนและญาติสนิท ที่น่าห่วง คือ คนไปขายบริการทางเพศนับวันมีการศึกษาสูงขึ้น ตั้งแต่ปวส.-ปริญญาตรี
เนื่องจากการตรวจสอบคนเข้าเมืองของต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นมีความเข้มงวด มากขึ้น ขบวนการค้ามนุษย์ต้องใช้วิธีการสลับซับซ้อน นายหน้าจึงมุ่งไปหาเหยื่อที่มีความรู้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ถูกจับได้ และยอมรับว่าหญิงไทยบางส่วนก็ไปทำงานด้วยความสมัครใจ ได้มีการรับข้อมูลจากเครือข่ายช่วยเหลือหญิงไทยที่ถูกหลอกไปขายบริการ ทางเพศว่า มีหญิงไทยจำนวนหนึ่งถูกกักขังที่ประเทศมาเลเซีย โดยคนที่หลบหนีมาได้ให้ข้อมูลว่ายังมีเพื่อนคนไทยอีกหลายคนที่ถูกส่งขายไปมา เลย์ และถูกนำไปซ่อนตัวไว้ในสถานที่มิดชิดจนคนภายนอกไม่รู้ โดยมีขบวนการทำงานสลับซับซ้อนมาก
รายงานข่าวจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เปิดเผยว่า ยังมีหญิงไทยที่ถูกหลอกไปค้าบริการทางเพศที่มาเลเซียอย่างต่อเนื่อง โดยหญิงไทยจะถูกพาไปซ่อนตัวไว้ในโรงแรมขนาดใหญ่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และยะโฮบารู เป็นโรงแรมหรูระดับห้าดาวใจกลางเมือง ซึ่งจะมีห้องลับอยู่ชั้นใต้ดินไว้ซ่อนผู้หญิง เพื่อหลบเลี่ยงการจับกุมขณะตำรวจมาเลย์เข้ามาตรวจ ทำให้ยากในการเข้าไปช่วยเหลือและจับกุม ทั้งนี้ผู้หญิงที่ไปขายบริการที่มาเลย์มีทั้งถูกหลอกและไปแบบสมัครใจ
บางรายจบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ก็ยังไป ส่วนเด็กที่ถูกหลอกไปขายอายุต่ำกว่า 18 ปี มีจำนวนมาก อายุน้อยสุดเพียง 13 ปี
งานฝ่ายเอเชียอาคเนย์ ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ปัญหาหญิงไทยไปขายบริการที่เยอรมัน โดยเฉพาะเมืองฮัมบูร์ก พบว่ามีรูปแบบใหม่โดยการแอบแฝงมากับการนวดแผนไทยและสปาซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ของชายชาวยุโรป ทั้งในเยอรมัน ฝรั่งเศส ส่วนในเดนมาร์กมีมานานแล้ว โดยในเยอรมันมีการโฆษณาผ่านทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งนายหน้าหรือเจ้าของสถานที่จะจัดเช่าห้องอพาร์ตเมนต์ให้ผู้หญิงไปนั่ง แล้วให้ผู้ชายเข้าไปเลือก การนวดมีทั้งนวดธรรมดา นวดน้ำมันและบริการพิเศษที่รู้กันว่า คือ การขายบริการทางเพศ โดยผู้หญิงจะสวมเสื้อคลุมตัวเดียวแล้วนวด ซึ่งมีทั้งการร่วมเพศโดยตรงและการใช้มือ ส่วนค่าบริการรวมขายบริการทางเพศด้วยชั่วโมงละ 70 ยูโร ผู้หญิงจะได้รับส่วนแบ่ง 40 ยูโร "หญิงไทยที่ไปทำงานส่วนใหญ่เป็นคนจากภาคอีสาน ภาคกลางตอนเหนือ ภาคเหนือ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วง 4-5 ปี มานี้มีหญิงไทยจากภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและปัตตานี ไปขายบริการมากขึ้น เนื่องจากทำงานที่ภูเก็ตไปรู้จักชาวเยอรมันจึงตามกันไป หรือรู้จักทางอินเตอร์เน็ต
นอกจากนี้หญิงไทยที่ไปพบว่าจบปริญญาตรี จากราชภัฏเยอะมาก นอกจากนั้นก็มีปวช. ปวส. การให้บริการแฝงดังกล่าวทำให้ภาพพจน์การนวดแผนไทยเสื่อมเสีย คนต่างชาติกำลังมองว่าถ้านวดแผนไทย คือ การขายบริการทางเพศไปแล้ว จึงอยากให้รัฐเข้าไปตรวจสอบและควบคุมเรื่องนี้โดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้มีการส่งหญิงไทยกลับมาเรียนนวดที่วัดโพธิ์ 3-5 วันก็ได้รับใบประกาศ จึงจะได้ทำงาน ทุกวันนี้การหลอกลวงหญิงไทยไปค้าโดยใช้วิธีบังคับทารุณแทบไม่เห็นแล้ว จะมีก็เป็นการหลอกลวงเรื่องรายได้และเวลาการทำงานที่ต้องทำงานตั้งแต่เวลา 10.00 -22.00 น. และห้ามมีแฟนเพราะจะทำให้รู้มาก เมื่อวีซ่าขาด นายหน้าจะแนะนำให้จ้างชายชาวเยอรมันมาแต่งงาน โดยผู้หญิงต้องจ่ายเงินประมาณ 2,000 ยูโร จึงอยู่ทำงานต่อได้ จนกว่าจะครบ 2 ปี ถึงจะสามารถอยู่ในประเทศได้อย่างถาวร
ระหว่างนี้หากมีปัญหานายหน้าก็จะไม่ให้สามีชาวเยอรมันต่อวีซ่าให้ ผู้หญิงก็ต้องถูกส่งกลับประเทศ มีหลายรายที่ยอมทำศัลยกรรมหน้า เปลี่ยนชื่อนามสกุล เพื่อให้กลับไปทำงานที่เยอรมันได้อีก เจ้าหน้าที่สถานทูตญี่ปุ่น กล่าวว่า มีผู้หญิงไปขายบริการที่ญี่ปุ่นจำนวนมาก ทั้งหญิงไทย ฟิลิปปินส์และโคลัมเบีย โดยใช้เอกสารและพาสปอร์ตปลอมในการเดินทาง
ชมคลิปวีดีโอ
“ขอทาน”
หมายถึง การขอเงินหรือสิ่งของเลี้ยงชีวิต แต่ข้อเท็จจริงจากการศึกษาและสำรวจข้อมูลดังกล่าวพบว่า การขอทานได้ถูกหยิบยกมาเป็นวิธีการหาเงินโดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีผลประโยชน์ตอบแทนสูงให้แก่กลุ่มบุคคล หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัวของเด็กคนนั้นเอง เป็นผลให้เกิดการขยายตัวจนมีการเคลื่อนย้ายเด็กเข้าสู่ขบวนการขอทานเพิ่มยิ่งขึ้น จึงทำให้นิยามของการขอทานเพื่อเลี้ยงชีพเริ่มเข้าสู่ภัยเงียบของ “ธุรกิจเด็กขอทาน” นั่นเอง
“เด็กขอทาน” ประติมากรรมด้านมืดของสังคม ที่แสดงถึงความตกต่ำของจิตใจมนุษย์ในการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด เมื่อสังคมเริ่มตั้งคำถามต่อหน่วย งานภาครัฐในการจัดการและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภาพของเด็กขอทานที่นั่งอยู่ตามข้างถนนก็บางตาลง แต่เมื่อใดที่รัฐละเลย…ประติมากรรมเหล่านั้น ก็กลับมา ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เด็กขอทานมาจากไหน
หากพิจารณาจากพื้นที่ภูมิศาสตร์ทำเลทองในการขอทาน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อาจกล่าวได้ว่า กว่า 90% คือขอทานที่มาจากประเทศกัมพูชา ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลนักเพียงสองร้อยกว่ากิโลเมตร จากชายแดนด้านอำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว เข้ามาถึงเมืองหลวงของประเทศไทย คงมิใช่เรื่องยากที่ขบวนการค้ามนุษย์จะลำเลียง “เด็ก”เพื่อมาเป็นแรงงานทาสในธุรกิจขอทาน
“เด็ก” ที่ถูกนำมาเป็นขอทานมีอายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึงประมาณ 10 ปี หากโตเกินกว่านั้นแล้ว ย่อมหมดความน่าสงสาร ไม่อาจทำรายได้ให้แก่ธุรกิจขอทานแต่อย่างใด
เกือบทุกครั้ง เรามักเห็นว่า “เด็กขอทาน” มีหญิงขอทานที่กล่าวอ้างตัวเองว่าเป็น “แม่” คอยนั่งอยู่ใกล้ๆ หรือ นั่งขอทานห่างไปอีกสักมุมสะพานลอยอยู่เสมอ นั่นอาจเป็นแม่ของเด็กขอทานหรือมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับเด็กคนนั้นจริงๆ
แต่อีกส่วนหนึ่งเราพบว่าหญิงและเด็กที่นั่งอยู่ด้วยกันนั้นไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดและเด็กถูกนำมาขอทานด้วยวิธีการที่ไม่ต่างจากสินค้า คือ การเช่า และซื้อ มาจากครอบครัวของเด็กเอง!!! ถึงที่สุดแล้วไม่ว่าเด็กจะมาจากวิธีการก็ตาม พวกเขาต้องได้รับการการคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกันกับเด็กทั่วโลก และชีวิตของพวกเขาไม่ควรเรียนรู้โลกกว้างจากข้างถนนโดยเด็ดขาด
วิธีการในการนำเข้าเด็กขอทาน
เส้นทางในการนำเด็กและขบวนการขอทานเข้าสู่ประเทศไทย ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนหรือยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะมีวิธีนำพาเด็กมุ่งเข้าสู่ เมืองหลวงของประเทศไทยได้หลากหลายวิธีทางรถยนต์เป็นวิธีการยอดนิยม อีกวิธีการหนึ่งที่ขบวนการค้าคน จะขนส่งสินค้ามนุษย์เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย โดยสนนราคาที่ 1,500-3,000 บาทต่อหญิงและเด็ก 1 คู่
ซึ่งหากพิจารณาถึงสภาพการตรวจตราที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ในเส้นทางจากตลาดโรงเกลือถึงจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมีขบวนการขนคนรอดสายตาไปได้ แต่ยุทธวิธี “กองทัพมด” ที่จอดรถเดินเท้าอ้อมผ่านด่านตรวจ ก็ยังคงเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ และใช้ได้เสมออย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน
ทางรถไฟ... เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะสามารถขนคนเข้ามายังกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก ทั้งๆ ที่บนขบวนรถไฟมีเจ้าหน้าที่รถไฟ และตำรวจรถไฟ คอยตรวจตราอย่างเข้มงวด
หญิงขอทานคนหนึ่ง เธอเปิดเผยว่า สามารถซื้อตั๋วรถไฟจากช่องจำหน่ายตั๋วได้ด้วยตัวเอง เธอยังให้ข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า เต้องเตรียมเงินจำนวนหนึ่งไว้จ่ายค่าผ่านทางบนรถไฟสอดคล้องกับเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วที่สถานีรถไฟอรัญประเทศที่กล่าวว่า ใครมีเงินมา ซื้อ ก็ขายทั้งนั้น
รถโดยสาร...รถโดยสารประจำทางที่แล่นจากอรัญประเทศเข้ากรุงเทพมหานคร ต้องหยุดตรวจค้นและแสดงบัตรประชาชนของผู้โดยสารทุกครั้ง แต่มีรถโดยสารประเภทหนึ่งที่วิ่งรับนักท่องเที่ยวจากบ่อนคาสิโนเข้ามายังกรุงเทพฯ ที่ไม่ต้องหยุดตรวจ และรถโดยสารดังกล่าวไม่เฉพาะนักเล่นการพนันเท่านั้นที่สามารถขึ้นได้ แต่ทุกคนที่มีเงินจ่ายค่าโดยสาร ก็สามารถเดินทางมากับรถ โดยสารคันนี้ได้ทั้งนั้น ทุกอย่างเหมือนรถโดยสารประจำทาง แต่สิ่งที่ต่างกันคือ รถโดยสารเหล่านี้ไม่ต้องหยุดตรวจที่ด่านตรวจ
เด็ก…เครื่องมือในการขอทาน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเมื่อใดก็ตามที่ท่านพบเห็นเด็กขอทานนั่งหน้าตาใสซื่อ หรืออยู่ในอ้อมกอดของคนที่พาเขามาขอทาน ความสงสารและความเห็นใจจะคืบคลานเข้าสู่สามัญสำนึก ของเราๆ ท่านๆ และหลังจากนั้น คงต้องถึงเวลาตัดสินใจว่า จะยอมใจแข็งเดินจากไป หรือ ควักเศษเงินตอบแทนความน่าสงสารเบื้องหน้า
ด้วยความน่าสงสารและน่าเห็นใจนี่เอง ที่ทำให้เด็ก ต้องกลายมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ และการขอทาน ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำเงินให้แก่ผู้อยู่เบื้องหลังได้ไม่น้อยทีเดียว
ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ได้ลงพื้นที่ติดตามขบวนการต่างๆ ที่นำเด็กมาขอทาน พบว่า เด็กบางรายต้องออกมาขอทานตั้งแต่ 7 โมงเช้า จนกระทั่งเวลา 5 ทุ่ม กว่าจะได้กลับบ้านพักผ่อน ระยะเวลาในการขอทานช่างเนินนานนัก เมื่อเทียบกับคุณภาพชีวิตแบบข้างถนนที่เด็กไม่สมควรจะได้รับ ซ้ำร้ายเด็กเหล่านี้ขาดโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้น เมื่อเด็กเติบโตขึ้น ทางเลือกในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัวก็ลดน้อยลง ผลักดันให้เด็กกลุ่มนี้อาจเติบโตในภาวะของเด็กเร่ร่อนและอาจก่ออาชญากรรมเพื่อประทังชีวิตในอนาคต
ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยก็ตาม หากคนในสังคมยังมองภาพการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กอย่างตื้นเขิน ไม่ตั้งคำถามถึงที่มาที่ไป หรือ สงสัยต่อคุณภาพชีวิตที่เด็กทุกคนควรจะมีและควรได้รับการปกป้องคุ้มครอง"เด็กขอทาน" ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ขายได้ และเป็นจะภาพชินตาของคนในสังคมต่อไป
บทบาทรัฐในการแก้ไขปัญหา
“รัฐ” คงมิอาจบ่ายเบี่ยงและปฏิเสธความรับผิดชอบในปัญหาเด็กขอทานไปได้ ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเป็นเด็กไทยหรือเด็กสัญชาติใดก็ตาม เพราะรัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็กทุกคนที่อยู่บนพื้นแผ่นดินไทย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คงต้องยืดอกออกมาร่วมรับผิดชอบในฐานะเจ้าภาพอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์และการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
การเอาจริงเอาจังในการช่วยเหลือ เด็กขอทานและปราบปรามขบวนการค้ามนุษ์ ที่นำเด็กมาขอทาน เมื่อสักประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมาของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ปัจจุบันหน่วยงานรัฐที่คอยจับชีพจรปัญหาของสังคมกระทรวงนี้ อาจว่างเว้นและละเลยต่อ ปัญหาการนำเด็กมาขอทาน จึงทำให้ “เด็กขอทาน” เริ่มถูกนำกลับมาแสวงหาผลประโยชน์และผุดเต็มทั่วทุกพื้นที่อีกครั้ง
บทบาทสำคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่สำคัญอีก ประการหนึ่งในการเปิดศูนย์ฮอทไลน์ ชื่อว่า “ศูนย์ประชาบดี” คอยทำหน้าที่รับแจ้งปัญหาสังคมต่างๆ รวมทั้งเรื่องเด็กขอทาน ควรมีบทบาทเชิงรุกมากกว่าการรับแจ้งเพื่อประสานงานไปยังตำรวจท้องที่เกิดเหตุอีกต่อหนึ่ง ซึ่งนั่นแทบเป็นการโยนข้อมูลของพลเมืองดีทิ้งลงถังขยะจนแทบไม่มีประโยชน์ ที่ต้องกล่าวเช่นนั้นเพราะว่า กระบวนการของตำรวจท้องที่เมื่อได้รับแจ้งจากศูนย์ประชาบดี ส่วนใหญ่จะลงพื้นที่ไปตรวจสอบและไล่ให้เด็กไปนั่งขอทานที่อื่นนอกพื้นที่รับผิดชอบของ หรือบ่อยครั้งที่ไม่มีเจ้าหน้าที่มาดูที่เกิดเหตุเลย ซึ่งลักษณะการดำเนินการแบบนี้แทบไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย การปราบปรามขบวนการขอทานจำเป็นต้องทำการสืบสวนเก็บข้อมูลมาขยายผลเพื่อเชื่อมโยงคนบงการใหญ่ มิใช่เพียงไล่เด็กให้พ้นหูพ้นตาแล้วนั่งภูมิใจว่าไม่มีขอทานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
รายงานสถานการณ์เด็กขอทานรอบปี 2554
ในปีรอบปี 2554 นี้ ถือได้ว่าสภาพปัญหาการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานมีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา ปรากฎจากข่าวการช่วยเหลือเด็กขอทานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก รวมเกือบ 20 ข่าวตลอดทั้งปี ซึ่งในแต่ละครั้งนอกจากจะสามารถช่วยเหลือเด็กขอทานได้เป็นจำนวนมากแล้วยังกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ อาทิเช่น จังหวัดชลบุรี , ระยอง , เชียงใหม่ ,สุรินทร์ , สมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร เป็นต้น โดยมีทั้งที่เป็นลักษณะของขบวนการค้ามนุษย์รวมถึงการลักพาตัวเด็กไปตระเวนขอทานยังพื้นที่ต่างๆ อีกด้วย
จากการดำเนินบทบาทในการเป็นศูนย์รับแจ้งเบาะแสการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา มีสถิติการรับแจ้งนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 พฤศจิกายน 54 สูงถึง 118 ราย โดยนอกจากพื้นที่ที่มีข่าวการกวาดล้างเด็กขอทานตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีจังหวัดภูเก็ต , สุราษฎร์ธานี , อยุธยา , จันทบุรี , ลำพูนและราชบุรี ซึ่งมีพลเมืองดีแจ้งเบาะแสเข้ามาเช่นเดียวกัน นั่นยอมแสดงให้เห็นว่าปัญหาเด็กขอทานกระจายตัวออกไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยแล้ว
สำหรับภูมิภาคที่เป็นปลายทางที่สำคัญของขบวนการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานนั้น ต้องยกให้กับภาคตะวันออก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นเมืองเศรษฐกิจ ประกอบกับการกวาดล้างเด็กขอทานอย่างหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อเนื่องจากปี 2553 ที่ผ่านมาด้วยจึงทำให้กลุ่มเด็กขอทานหลั่งไหลเข้าพื้นที่ดังกล่าวในที่สุด ซึ่งจากการลงพื้นที่ของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหาเด็กขอทานจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ทำให้ทราบว่ามีนายหน้าที่คอยเรียกรับผลประโยชน์จากขอทานที่จะเข้าไปขอทานในพื้นที่ถนนคนเดินพัทยาใต้ (walking street) และบริเวณใกล้เคียงด้วย ซึ่งนายหน้าบางคนยังใช้วิธีการหาเด็กจากประเทศกัมพูชามาปล่อยเช่า โดยจะนำเด็กพร้อมครอบครัวมาจากประเทศกัมพูชา จากนั้นก็จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจับกุม ซึ่งนายหน้าจะเก็บเด็กไว้เพื่อไม่ให้ถูกจับไปด้วย และนำเด็กมาปล่อยเช่า ซึ่งการคิดราคานั้นก็กำหนดตามอายุ เช่น หากเด็กอายุ 7 ปี ก็จะมีค่าเช่าอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท แต่ถ้าอายุ 10 ปี ก็จะคิดค่าเช่า 10,000 บาท เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ภาคตะวันออกก็มีการออกมาตรการณ์ในการกวาดล้างเด็กขอทานอย่างหนักเช่นเดียวกัน ภายหลังจากเกิดกรณีการลักพาตัว ด.ญ.ศิรินทิพย์ สำอาง หรือ “น้องพอมแพม” ไปจากครอบครัวที่จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนที่จะมีพลเมืองดีไปพบขณะกำลังเดินขอทานอยู่ในตลาดแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จึงทำให้เกิดกระแสการกวาดล้างเด็กขอทานอย่างต่อเนื่องโดยหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งมิใช่เพียงแค่ในจังหวัดชลบุรีเท่านั้นแต่ที่จังหวัดระยองก็มีข่าวคราวเกี่ยวกับการจับกุมนายหน้าชาวกัมพูชาที่ลักลอบนำเด็กเข้ามาเป็นเครื่องมือในการขอทานเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการเช่าห้องพักเพื่อให้กลุ่มขอทานพักอาศัยอยู่รวมกัน โดยนายหน้าจะพาเด็กออกไปขอทานตามตลาดนัดต่างๆ ในจังหวัดระยอง และมีการเรียกรับผลประโยชน์จากกลุ่มขอทานเพื่อเป็นค่าเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย รายละ 3,500 บาท ซึ่งหากใครไม่มีนายหน้าจะหักจากเงินที่ขอทานสามารถหาได้ในแต่ละวัน วันละ 400 บาท โดยการจับกุมในครั้งนี้สามารถช่วยเหลือขอทานที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ได้รวม 15 คน และจับกุมนายหน้าได้ทั้งสิ้น 4 คน ด้วยกัน และนอกจากนี้โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ก็ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ต่อคนในสังคมให้เข้าใจถึงวิธีการช่วยเหลือเด็กขอทานอย่างถูกวิธีอีกด้วย เนื่องจากเห็นว่าการนำเด็กมาขอทานในประเทศไทยสามารถทำได้อย่างง่ายดายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามเด็กขอทานละเลยในการปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง
ในส่วนของปัญหาการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานที่เข้าข่ายเป็นลักษณะกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์นั้น โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ก็พบกรณีการนำเด็กชายอายุ 12 ปี ที่ร่างกายมีความพิการตาบอดจากประเทศกัมพูชาเข้ามาขอทานในพื้นที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ซึ่งจากการสัมภาษณ์เด็กขอทานคนดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือออกจากข้างถนนแล้ว ทำให้ทราบว่าเด็กคนดังกล่าวเคยถูกนำไปขอทานถึงประเทศมาเลเซียมาแล้วก่อนที่จะเข้ามาขอทานในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละวันจะถูกนายหน้าค้ามนุษย์ชาวกัมพูชา 2 คนที่เป็นสามี - ภรรยากัน พาตระเวนออกไปขอทานตามตลาดต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า ตั้งแต่ 5.00 น. – 14.00 น. และช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 16.00 น. – 21.00 น. โดยนายหน้าจะใช้วิธียืนขายลูกโป่งบังหน้า เพื่อเฝ้าเด็กขณะนั่งขอทาน อีกทั้งนายหน้าคนดังกล่าวยังให้ข้อมูลว่าตนเองถูกจ้างวานต่อมาอีกทอดหนึ่ง โดยในแต่ละเดือนจะได้ค่าตอบแทนประมาณ 6,000 บาท ส่วนรายได้จากการขอทานทั้งหมดจะต้องส่งให้กับผู้จ้างวาน
นอกจากกรณีการนำเด็กที่มีร่างกายพิการตาบอดจากประเทศกัมพูชาเข้ามาขอทานแล้ว ยังมีกรณีการลักลอบนำเด็กจากประเทศพม่าเข้ามาขอทานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย โดยในคดีนี้สามารถช่วยเหลือเด็กขอทานทั้งชายและหญิงได้มากถึง 7 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 3 – 14 ปี โดยมีนายหน้าค้ามนุษย์เป็นชาวพม่าทั้งหมด 3 คน ซึ่งเด็กแต่ละคนจะถูกนายหน้าตระเวนขอทานตั้งแต่เวลา 06.00 – 00.00 น. เป็นประจำทุกวัน หากวันใดไม่สามารถขอทานได้ถึง 500 บาท จะถูกบังคับให้ขอทานต่อจนถึงเวลา 04.00 น. นอกจากนี้เด็กบางคนยังถูกนายหน้าล่วงละเมิดทางเพศอีกด้วย ทั้ง 2 กรณีนี้ สะท้อนให้เห็นว่าในประเทศไทยมีขบวนการนำเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเครื่องมือในการขอทานอยู่จริง อีกทั้งยังมีสภาพปัญหาที่มีความรุนแรงอย่างมาก ซึ่งทางโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงาคาดว่า ยังมีเด็กขอทานที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในลักษณะดังกล่าวนี้อีกเป็นจำนวนมากและยังรอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์เด็กขอทานในจังหวัดต่างๆ แล้ว ก็คงต้องกล่าวถึงพื้นที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งจากการดำเนินบทบาทในการเป็นศูนย์รับแจ้งเบาะแสเด็กขอทานของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา พบว่าพื้นที่เขตปทุมวันมีสถิติการรับแจ้งสูงที่สุดที่ 14 ราย รองลงมา คือ พื้นที่สุขุมวิท มีทั้งสิ้น 9 ราย ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่นี้ล้วนเป็นเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวในเวลากลางคืนจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากและสามารถพบเห็นเด็กขอทานได้ตลอดทั้งวัน
สำหรับเส้นทางในการเดินทางเข้ามาของขอทานจากประเทศกัมพูชานั้น ยังคงเป็นเส้นทางด่านชายแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เช่นเดิม เนื่องจากมีการพาหนะในการเดินทางเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยได้อย่างสะดวก ซึ่งเส้นทางนี้มักปรากฏข้อเท็จจริงตามข่าวการกวาดล้างเป็นอยู่ประจำ แต่ก็มิค่อยมีหน่วยงานใดที่ทำการขยายผลมาจับกุมนายหน้าหรือวางมาตรการณ์ในการสกัดกั้นการเข้ามาของขอทานจากประเทศกัมพูชาแต่อย่างใด จึงทำให้การแก้ไขปัญหาเด็กขอทานในประเทศไทยไม่คืบหน้าไปเท่าที่ควร เนื่องจากขอทานที่ได้รับการช่วยเหลือมักเดินทางกลับเข้ามาขอทานในประเทศไทยอีกหลายต่อหลายครั้ง
จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะยังคงประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในระดับ 2.5 (Tier 2 watch list) เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยยังคงมีสภาพปัญหาการค้ามนุษย์ที่รุนแรงอยู่นั่นเอง
จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะยังคงประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในระดับ 2.5 (Tier 2 watch list) เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยยังคงมีสภาพปัญหาการค้ามนุษย์ที่รุนแรงอยู่นั่นเอง
หากมองถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กขอทานโดยตรงอย่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แล้ว ในปีนี้ถือว่าทางกระทรวงฯ เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานน้อยจนน่าใจหาย เนื่องจากไม่มีการจัดประชุมเพื่อวางแผนหรือกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานแต่อย่างใด มีเพียงการจัดทำสื่อรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อคนในสังคมเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กขอทานเพียงประการเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนใหม่ จึงทำให้การทำงานในการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานไม่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปี 2554 นี้ ทางโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา คาดว่าสถานการณ์เด็กขอทานในปี 2555 จะยังคงมีสภาพปัญหาที่มีความรุนแรงเช่นเดิม ซึ่งมีประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานอย่างเป็นรูปธรรมมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้หน่วยงานที่ทำการปราบปรามเด็กขอทานจะมีการเพิ่มงานรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่คนในสังคมเข้ามาในภารกิจของหน่วยงานบ้างหรือไม่ เนื่องจากการปัญหาเด็กขอทานมีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวพันกับรายได้ของเด็กขอทานที่มีมูลค่าสูงมากในแต่ละวัน ดังนั้นการเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมให้เปลี่ยนพฤติกรรมการให้เงินกับเด็กขอทานเป็นการแจ้งเบาะแสแทน จึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานได้อย่างยั่งยืนที่สุด
ชมวีดีโอคลิป
ชมวีดีโอคลิป
ท้ายสุดแล้ว การจัดการปัญหาเด็กขอทาน เป็นภารกิจและหน้าที่ของทุกคน ที่จะช่วยกันปกป้องเด็กของสังคมมิให้ต้องตกเป็นเครื่องมือของผู้ใหญ่ใจร้าย ที่คอยแต่จะกัดกินผลประโยชน์จากชีวิตน้อยๆ อยู่ร่ำไป
“การประมง” ถือว่าเป็นธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมหาศาล เป็นผลให้ความต้องการจำนวนแรงงานเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง มีเพิ่มสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สภาพการทำงานของอุตสาหกรรมประมงถือว่าเป็นงานที่หนัก$$และเสี่ยงอันตราย ประกอบกับต้องออกทะเลเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน จึงทำให้แรงงานไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะปฏิเสธงานในลักษณะดังกล่าว เป็นผลให้ส่วนใหญ่ธุรกิจประมงนอกน่านน้ำเกิดวิกฤติขาดแคลนแรงงาน จึงต้องอาศัยการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งแบบมีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายและแบบหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งตรงจุดนี้เองทำให้ธุรกิจดังกล่าวมีการเอาเปรียบแรงงานในเรื่องของค่าจ้างและการใช้ความรุนแรงในการบังคับใช้แรงงาน โดยที่แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะต้องทนจำยอมและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการดำเนินงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา พบว่ามีการหายตัวไปของคนในสังคมหลายกรณีที่เชื่อมโยงกับการล่อลวงและลักพาตัวเพื่อนำมาขายและบังคับเป็นแรงงานทาสบนเรือประมง โดยข้อเท็จจริงจากปากคำของผู้เสียหายให้ข้อมูลตรงกันว่า ถูกบังคับให้ต้องทำงานบนเรือประมงในลักษณะงานที่หนัก และพักผ่อนมาเป็นเวลา โดยเมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานหรือทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมเรือได้ ก็จะถูกทำร้ายและทุบตีอย่างทารุณ ตลอดจนการทำงานบนเรือประมงหลายลำไม่มีสวัสดิการดูแลเมื่อเจ็บป่วยและไม่มีความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ ผู้เสียหายในกรณีดังกล่าว ให้ข้อมูลตรงกันว่า ยังมีแรงงานเยี่ยงทาสบนเรือประมงที่ถูกล่อลวงและลักพาตัวอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถหนีรอดออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือได้ อันเป็นผลให้เกิดการตั้งข้อสมมุติฐานว่าปริมาณของแรงงานประมงที่ถูกล่อลวง ลักพาตัว และไม่สมัครใจในการทำงานนั้น น่าจะมีเป็นจำนวนมาก และขบวนการค้ามนุษย์ดังกล่าว น่าจะมีลักษณะของการทำงานในแบบเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน โดยเริ่มจากนายหน้า ผู้นำพา และผู้ประกอบการที่รับซื้อแรงงานเหล่านี้เพื่อบังคับใช้งาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวมิได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสาธารณะในอันที่จะได้รับการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
สภาพปัญหาการล่อลวงและลักพาตัวแรงงานในธุรกิจแรงงานทาสบนเรือประมงนั้น มีหลายหน่วยงานที่ควรมีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการหยิบยกเป็นประเด็นทางสังคมในวงกว้าง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและไม่สามารถเข้าถึงการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายได้
ลักษณะการล่อลวงแรงงานในธุรกิจประมง
• การล่อลวง
ลักษณะการล่อลวงคนเพื่อมาบังคับใช้เป็นแรงงานในเรือประมงนอกน่านน้ำนั้น ส่วนใหญ่จะมีนกต่อหรือนายหน้าเข้ามาตีสนิทกับเหยื่อ ส่วนใหญ่จะมาเสนองานให้ทำโดยมีค่าตอบแทนสูงเพื่อเป็นสิ่งจูงใจโดยจะเริ่มจากการเข้ามาชวนพูดคุยเรื่องทั่วไปและจึงชักชวนไปทำงานซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงในการหว่านล้อม นอกจากนี้ยังมีวิธีการออกอุบาย เช่น นายหน้ามักจะทำทีโทรศัพท์มือถือคุยกับพรรคพวกของตนเอง โดยอ้างกับเหยื่อว่ากำลังคุยกับนายจ้างที่จะพาไปฝากงาน และให้เหยื่อคุยโทรศัพท์เพื่อตกลงราคาค่าจ้างกันด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เหยื่อไว้วางใจและยอมที่จะเดินทางไปด้วย หรือไม่นายหน้าจะมาลักษณะของรถรับจ้างสาธารณะ ที่จะหลอกพาผู้เสียหายไปสมัครงานตามที่ต่างๆ เพื่อแลกกับค่าหัวคิวที่จะได้รับจากขบวนการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ หลายกรณีนายหน้ามักสนทนากับผู้เสียหายด้วยภาษาถิ่นเดียวกันเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อใจว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน
นอกจากนี้การล่อลวงแรงงานในธุรกิจประมงยัง มีการใช้กลวิธีติดประกาศรับสมัครงานตามสถานีขนส่งและสวนสาธารณะต่างๆ อีกด้วย ทั้งนี้ หากเหยื่อติดต่อกลับไปเพื่อสมัครงาน จะพบว่า งานที่ระบุไว้ในประกาศจะเต็มแล้ว โอกาสนี้เองที่ขบวนการค้ามนุษย์จะชักชวนว่า มีงานอื่นๆ ที่รายได้ดี เหมือนกัน และจะล่อลวงเหยื่อลงเรือประมงในที่สุด
นอกจากนี้การล่อลวงแรงงานในธุรกิจประมงยัง มีการใช้กลวิธีติดประกาศรับสมัครงานตามสถานีขนส่งและสวนสาธารณะต่างๆ อีกด้วย ทั้งนี้ หากเหยื่อติดต่อกลับไปเพื่อสมัครงาน จะพบว่า งานที่ระบุไว้ในประกาศจะเต็มแล้ว โอกาสนี้เองที่ขบวนการค้ามนุษย์จะชักชวนว่า มีงานอื่นๆ ที่รายได้ดี เหมือนกัน และจะล่อลวงเหยื่อลงเรือประมงในที่สุด
• การลักพาตัว/ทำให้หมดสติ
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากปากคำของผู้เสียหายมีกรณีการป้ายยา/โปะยาสลบ ในห้องน้ำบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต (ขาเข้า) โดยกลุ่มมิจฉาชีพ จะเดินตาม และเดินสวนทางกันในห้องน้ำ จากนั้น เหยื่อจะสลึมสะลือ และหมดสติลง ตื่นขึ้นมาอีกทีจะอยู่บนเรือประมงแล้ว
อีกกรณีเป็นการใช้สารเสพติดประเภทสุราและยานอนหลับผสมกาแฟ หรือเครื่องดื่ม ให้เหยี่อดื่มแล้วหมดสติ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเข้าทำทีมาตีสนิทกับผู้เสียหาย จากนั้นจะชักชวนผู้เสียหายให้ดื่มน้ำ หรือสุรา หรืออาหารที่เตรียมมา เมิ่อผู้เสียหายรับประทานเข้าไปจะหมดสติ และถูกนำไปขายต่อให้เรือประมงในที่สุด ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าเหยื่อโดยยาชนิดไหน และวิธีการอย่างไร เพราะเหยื่อไม่ได้สติ
• ร้านคาราโอเกะ
ข้อมูลจากในพื้นที่จังหวัดสงขลา พบว่ามีการล่อลวงผู้เสียหาย ให้เข้าไปใช้บริการใน ร้านคาราโอเกะ จากนั้น ให้ผู้เสียหายดื่มกินสุราและใช้บริการจากหญิงบริการได้อย่างเต็มที จนในที่สุดเมื่อผู้หายเมาจนหมดสติ จะถูกจับขังไว้บนร้านคาราโอเกะ เพื่อส่งต่อลงเรือประมง หรืออีกกรณีจะให้ผู้เสียหายดื่มกินสุราและใช้บริการจากหญิงบริการได้อย่างเต็มที่เช่นกัน แต่เมื่อมีการคิดเงินค่าใช้บริการทั้งหมด จะมีราคาสูงเกินจริงเป็นหมื่นๆ บาท ทำให้เมื่อผู้เสียหายไม่มีเงินจ่าย ก็ต้องลงเรือประมงเพื่อใช้หนี้
กลุ่มเป้าหมาย
เหยื่อที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของขบวนการค้ามนุษย์ในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่ มิจฉาชีพจะเลือกเหยื่อที่เพิ่งเคยเดินทางมากรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ซึ่งอาจจะเข้ามาหางานทำ หรือไม่มีจุดหมายปลายทางในการเดินทาง โดยจะเลือกเหยื่อที่นั่งอยู่ในสถานีขนส่งเป็นเวลานาน เพราะไม่มีที่ไป เป็นต้น
เหยื่อที่ท่าทางซื่อ และไม่คุ้นเคยกับสถานที่ จะทำให้มิจฉาชีพเข้ามาตีสนิทและชักชวนไปทำงานได้ง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นประชาชนที่เดินทางมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
เหยื่อที่จะถูกล่อลวงหรือลักพาตัวไปจะมีอายุตั้งแต่ 15 – 45 ปี ทั้งหมดเป็นเพศชาย
สถานที่ควรเฝ้าระวังในการถูกล่อลวง
-สถานีขนส่งหมอชิต
-สถานีขนส่งสายใต้ใหม่
-สถานีรถไฟหัวลำโพง
-สนามหลวง
-วงเวียนใหญ่
-สถานีขนส่งสายใต้ใหม่
-สถานีรถไฟหัวลำโพง
-สนามหลวง
-วงเวียนใหญ่
-ปากน้ำ สมุทรปราการ
-ท่าเรือมหาชัย สมุทรสาคร
-ท่าเรือเมืองสงขลา -ท่าเรือมหาชัย สมุทรสาคร
-ท่าเรือปัตตานี
ชมคลิบวีดีโอ
แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์(จากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม)
ตนเอง
-ต้องดูแลตัวเอง รักในศักดิ์ศรีของความเป็นคน ต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
-ต้องคิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างมีเหตุมีผลก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป ต้องเข้าใจตนเองให้มากที่สุด
-ผู้หญิงจะต้องรักนวลสงวนตัว รู้เท่าทันภัยใกล้และไกลตัว รู้จักวิธีการป้องกันต้องเองจากภัยอันตราย
-จะต้องไม่เชื่อคนง่าย ไม่หูเบา จะฟัง จะเชื่อ จะคิดอะไรจะต้องคิดถึงผลที่จะตามมาด้วยเสมอ
-ผู้ชายจะต้องให้เกียรติผู้หญิง ต้องมีจิตสำนึกในความเป็นสุภาพบุรุษ
-ควรจะเลือกสนใจในค่านิยมที่ดีดีไม่ผิดต่อศีลธรรมจรรยา และถูกต้องตามกฎข้อบังคับของสังคม
ครอบครัว
-ต้องดูแลเอาใจใส่สมาชิกในครอบครัว ให้ความรักความอบอุ่นและพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาให้แก่กันและกันโดยไม่ตำหนิติเตียนดุด่าหากคนใดคนหนึ่งทำผิดพลาดไป ควรจะเปลี่ยนจากคำดุด่าเป็นคำแนะนำและกำลังใจให้แก่กันและกัน
-สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับทั้งในฐานะสมาชิกในครอบครัวและสังคม จะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
-ควรจะยึดถือวัฒนธรรม “การมีผัวเดียวเมียเดียว” เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว
สถานศึกษา
-ควรมอบการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอย่างถูกต้อง เต็มที่ และเท่าเทียมกัน
-ควรดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนให้รู้จัก ผิดถูกชั่วดี ในการใช้ชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรม
-ควรแนะนำวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกศีลธรรมจรรยา และไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคม
-ควรแนะนำการประกอบอาชีพที่สุจริต ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมืองและจะต้องเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้แก่ผู้เรียนที่เกิดปัญหาในชีวิตได้อย่างถูกต้อง
-ควรปลูกฝังค่านิยมที่ดี ให้แก่ผู้เรียน ควรจะสร้างจิตสำนึกในการเคารพสิทธิของผู้อื่นให้เกิดขึ้น รวมถึงการสร้างให้เกิดจิตสำนึกในเรื่องการให้เกียรติเพศตรงข้าม การเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นโดยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ศาสนา
-ขัดเกลาจิตใจของประชาชนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ
-ปลูกฝังจิตสำนึกประชาชนให้เกิดการเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน
-น้อมนำให้ประชาชนในสังคมใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผล โดยยึดหลักธรรมทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
-ควรเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่บุคคลที่ประสบปัญหาชีวิตได้ โดยการใช้ธรรมะในการบำบัด
หน่วยงานของรัฐ
-ในด้านมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รัฐบาลมีการออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ 2551 โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้กับการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ และมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองบุคคลที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และปราบปรามองค์กรอาชญากรรมที่แสวงหาผลประโยชน์จากมนุษย์ด้วยกัน
-รัฐจะต้องใช้นโยบายการบริหารประเทศที่ทำให้การครองชีพการเป็นอยู่ของประชาชนทุกระดับชั้นในสังคมมีมาตราฐานและดีขึ้นรวมถึงการเข้มงวดในด้านกฎหมายอย่างเคร่งครัดไม่ปล่อยให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายที่จะทำให้เกิดการทำผิดกฎหมาย
-รัฐจะต้องสนับสนุนการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันในทุกระดับชั้นของประชาชนในสังคมจะต้องสอดส่องดูแลความต้องการในปัจจัยพื้นฐานชีวิตของประชาชนในทั่วทุกภาคโดยกระจายให้เกิดความกินดีอยู่ดีอย่างเท่าเทียมเพื่อไม่ให้เกิดการเลื่อมล้ำ
-กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องตระหนักและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังโดยจะต้องไม่ปล่อยให้เกิดช่องว่างในการควบคุมป้องกัน และจะต้องยึดกฎหมายเป็นสำคัญ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการค้ามนุษย์
กิจกรรมประกอบการนำเสนอ
กติกา : ให้เพื่อนนิสิตแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ โดยให้ทำกิจกรรมโต้วาที ในประเด็น "ดีหรือไม่ถ้าประเทศไทยมีการจดทะเบียนโสเภณีให้ถูกกฎหมาย และเสียภาษีเหมือนอาชีพอื่นๆในสังคม"
ความคิดเห็นของเพื่อนๆนิสิตจากการทำกิจกรรม
ในการทำกิจกรรมเรื่องการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมการโต้วาที ซึ่ง ในขณะทำกิจกรรมนั้นเพื่อนๆซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ บรรยากาศภายในห้องตอนทำกิจกรรมได้รับความสนใจจากเพื่อนในห้องเรียนเป็นอย่างดี แต่ละฝ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นฝ่ายเห็นด้วยกับฝ่ายไม่เห็นด้วย แต่ละฝ่ายจัดเตรียมเนื้อหากันอย่างเต็มที่รวมทั้งเตรียมตัวเพื่อโต้วาทีกันอย่างเต็มที่โดยมีความเห็นดังต่อไปนี้
ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนอาชีพโสเภณีนั้นได้ให้ความเห็นว่าสมควรที่จะให้มีการขึ้นทะเบียนเพราะจะได้เป็นการควบคุม ผลกระทบที่เกิดจากอาชีพนี้ ทั้งเรื่องของ โรคติดต่อ ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ ปริมาณของโสเภณี โดยฝ่ายนี้ได้ให้ความเห็นถึงประเด็นของสิทธิมนุษย์ชน สวัสดิการ ความเท่าเทียมกันในสังคม รวมถึง การอ้างอิงถึงหลักธรรมทางศาสนาเกี่ยวกับอริยสัจสี่ และที่สำคัญที่สุดฝ่ายเห็นด้วยได้อ้างอิงถึง ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ฝ่ายนี้เสนอ รวมถึงชนชั้นทางสังคมที่ทางฝ่ายนี้ได้บอกถึงหลักแห่งความเป็นที่เราทุกคนไม่สามารถเลือกเกิดได้ถ้าจะมีแม่หรือลูกเป็นโสเภณีก็ต้องยอมรับความจริงและที่ทางฝ่ายเห็นด้วยยืนยันอย่างหนักแน่นคือ จุดประสงค์ของการขึ้นทะเบียนโสเภณี ว่าไม่ได้ต้องการให้มีจำนวนผู้ประกอบอาชีพนี้เพิ่มมากขึ้นเพียงแต่ต้องการควบคุมจำนวนที่มีอยู่แล้วให้มีสภาพที่ดีขึ้นและไม่เป็นปัญหาสังคม
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนอาชีพโสเภณีได้โต้ความเห็นของอีกฝ่ายในกรณีที่ว่าการควบคุมที่กล่าวถึงนั้นจะมีประสิทธิภาพหรือมีคุณภาพที่น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ต่อด้วยการกล่าวถึงศีลธรรมจรรยาในการประกอบอาชีพโสเภณี กล่าวถึงทางเลือกที่จะประกอบอาชีพที่ดีกว่าและโต้ถึงการขึ้นทะเบียนว่าไม่ควรเกิดขึ้นเพราะอาจก่อให้เกิดความหละหลวมของกฎหมายและการควบคุมซึ่งหมายถึงว่ากระทรวงที่รับผิดชอบจะมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน และถ้าความต้องการทางเพศของประชาชนเพิ่มมากเกินไปหรือเรียกได้ว่าเข้าขั้นหมกมุ่นการควบคุมของทางกระทรวงอาจใช่ไม่ได้ผลปัญหาก็จะเกิดตามมาคนก็จะหันมาเป็นโสเภณีมากขึ้น และประเด็นสำคัญที่ฝ่ายนี้แสดงความเห็นคือถ้าเมื่อโสเภณีถูกกฎหมายได้ จดทะเบียนได้แล้วทางยาเสพติดกับการพนันเรียกร้องสิทธิ์นี้บ้างสังคมก็จะเกิดปัญหาตามมาอีกหลายด้าน รวมถึงผู้ที่เกิดเป็นลูกจะยอมรับแม่ที่เป็นโสเภณีได้อย่างไรและผู้ชายสามารถรับผู้หญิงที่เป็นโสเภณีมาเป็นคู่รักได้อย่างไร ดังนั้นทางฝ่ายนี้จึงไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนอาชีพโสเภณี
สมาชิกในกลุ่ม การค้ามนุษย์
ดารณี เรืองจันทร์ 51041040
ปุณฑริกา ยุวนิช 51044201
วาสิตา แซ่อึ้ง 51044676
อมฤตา เตยจังหรีด 51046908
สราวุธ จุมจันทร์ 51048186
สุรสิทธิ์ สิงห์เมืองพรหม 51048209
สิริรานี บุญเอนก 51151169